5 มกราคม การอ่านถ่ายถอดอักษรโบราณ - อักษรไทยน้อย มกราคม 5, 2021 By SuperUser Account การอ่านถ่ายถอดอักษรโบราณ การอ่านถ่ายถอดอักษรโบราณ 0 กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารโบราณที่บันทึกด้วยอักษรต่างๆ เช่น อักษรธรรมอีสาน อักษรธรรมล้านนา อักษรไทยน้อยเป็นต้น ซึ่งนับวันจะหาผู้อ่านสืบทอดได้ยาก กรมศิลปากร ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้พยายามให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านต่างๆ ได้ผลิตคู่มือสำหรับให้บริการแก่ผู้สนใจเรียนรู้งานด้านต่างๆ โดยเฉพาะงานด้านอักษรโบราณเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รวบรวมจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวกับอักษรโบราณ จากการออกสำรวจเอกสารโบราณตามสถานที่ต่างๆ ทำให้ได้พบกับปัญหาคือผู้ที่สนใจอักษรโบราณแต่ละอักษร มีความต้องการจะศึกษาเนื้อหาในเอกสารโบราณนั้น กลับพบกับอุปสรรคคือไม่สามารถอ่านอักษรเหล่านั้นได้ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก จึงได้พยายามหาแนวทางแก้ปัญหาข้างต้น โดยการผลิตสื่อประกอบการเรียนอักษรต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้เรียนรู้อักษรโบราณที่พบในเอกสารโบราณ อย่างน้อยที่สุดเมื่อพบอักษรโบราณแล้ว สามารถบอกได้ว่าเป็นอักษรอะไร โดยที่เป้าหมายสูงสุดคือการอ่านและเข้าใจเนื้อความในเอกสารโบราณได้ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึกได้ตระหนักถึงข้อจำกัดดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดทำคู่มือการอ่านถ่ายถอดอักษรไทยน้อย คู่มือการอ่านถ่ายถอด อักษรไทยน้อยนี้ เป็นคู่มือสำหรับการเริ่มเรียนอักษรที่เหมาะกับการเริ่มเรียนรู้อักษร โดยเริ่มตั้งแต่การฝึกจำ ฝึกเขียน ฝึกอ่าน ได้จัดลำดับเนื้อหาเพื่อให้สะดวกต่อการเรียนรู้ สามารถจดจำอักษรได้ง่ายที่สุด ตั้งแต่การฝึกจำตัวอักษรแต่ละตัวทั้งสระและพยัญชนะ การผสมพยัญชนะกับสระ การฝึกอ่าน คำสองพยางค์ คำสามพยางค์ คำสี่พยางค์ หากเห็นประโยคเริ่มจากประโยคสั้นๆ ไปประโยคยาวตามลำดับ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้คุ้นชินกับการจำรูปอักษร สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึกเป็นผู้เรียบเรียงเนื้อหาการเรียนอักษรไทยน้อย จัดทำเป็นคู่มือการอ่านถ่ายถอดอักษรไทยน้อยขึ้น ในภาคผนวกท้ายเล่ม ได้รับความอนุเคราะห์เอกสารจำลองอักษรไทยน้อย จกรึกหลักต่างๆ จาก อ.เทิม มีเต็ม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร สำนักหอสมุดแห่งชาติ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือการอ่านถ่ายถอดอักษรไทยน้อยเล่มนี้ จะเป็นคู่มือสำหรับผู้สนใจได้ตามสมควร Attached Files การอ่านถ่ายถอดอักษรโบราณ - อักษรไทยน้อย.pdf 60.43 MB Related Articles คู่มือการอ่านถ่ายถอดอักษรขอม อักษรขอมเป็นอักษรโบราณของไทยแบบหนึ่งปรากฎใช้ในเอกสารโบราณทุกประเภท ทั้งจารึก หนังสือสมุดไทย และคัมภีร์ใบลาน โดยเฉพาะคัมภีร์ใบลานที่พบในภาคกลางของประเทศส่วนที่บันทึกเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา มักจารข้อความด้วยอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากคนไทยแต่โบราณมีความเชื่อถือสืบต่อกันมาว่า อักษรขอมเป็นอักษรที่ศักสิทธิ์ นอกจากใช้บันทึกเนื้อความในพระไตรปิฎกแล้ว ยังใช้จารหรือเขียนเป็นบทมนตร์คาถาและยันต์ต่างๆ ทั้งในตำราเวชศาสตร์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ อันเป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณและยังคงมีใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน Comments are closed.