5 มกราคม คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เอกสารโบราณประเภทจารึก มกราคม 5, 2021 By SuperUser Account จารึก จารึก 0 ทรัพยากรสารสนเทศเอกสารโบราณที่มีอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร มี ๓ ประเภท คือ จารึก หนังสือใบลานหรือคัมภีร์ใบลาน และหนังสือสมุดไทย เอกสารโบราณเหล่านี้ เป็นมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนที่ส่วนหนึ่งยังคงตกค้างอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งปัจจุบันไม่มีการสร้างขึ้นใหม่อีกแล้ว ส่วนที่คงเหลืออยู่นับวันก็มีแต่จะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ในที่สุดอาจจะไม่มีเหลืออยู่อีก ซึ่งจะเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารโบราณเป็นอย่างดี โดยเฉพาะส่วนที่ยังตกค้างอยู่ในต่างจังหวัด แม้ว่าจะได้จัดให้มีข้าราชการกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก รับผิดชอบโดยตรง ในการสำรวจ จัดหา และรวบรวมเอกสารโบราณเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องตลอดมา แต่บางครั้งมีการเปลี่ยนตัวบุคลากรผู้ปฏิบัติทำให้งานที่ดำเนินการอยู่ต้องหยุดชะงัก หรือล่าช้า เนื่องจากขาดความรู้ความชำนาญ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สำนักหอสมุดแห่งชาติจึงมอบหมายให้ นางสาวเอมอร เชาวน์สวน นักภาษาโบราณ ๗ ว. หัวหน้ากลุ่มงานทะเบียนและบริการ รวบรวมและเรียบเรียง คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เอกสารโบราณประเภทจารึก โดยจัดทำเป็นต้นฉบับมอบให้ นางสาวจตุพร ศิริสัมพันธ์ นักภาษาโบราณ ๘ หัวหน้ากลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งนี้ก็เพื่อให้หนังสือเล่มนี้ใช้เป็นคู่มือปฏิบัติงานการสำรวจ จัดหา และรวบรวมเอกสารโบราณประเภทจารึกของข้าราชการ รวมทั้งผู้แทนเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นคุณประโยชน์แก่การศึกษาของชาติสืบไป กรมศิลปากร หวังว่าหนังสือนี้คงจะอำนวยประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องตามสมควร Attached Files คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เอกสารโบราณประเภทจารึก.pdf 88.22 MB Related Articles คู่มือสำรวจ จัดหา รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยและคัมภีร์ใบลาน 1 ทรัพยากรสารสนเทศเอกสารโบราณที่มีอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร มี 3 ประเภท คือ จารึก หนังสือใบลานหรือคัมภีร์ใบลาน และหนังสือสมุดไทย เอกสารโบราณเหล่านี้ เป็นมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนที่ส่วนหนึ่งยังคงตกค้างอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งปัจจุบันไม่มีการสร้างขึ้นใหม่อีกแล้ว ส่วนที่คงเหลืออยู่นับวันก็มีแต่จะเสื่อมสภาพไปตามการเวลาในที่สุดอาจจะไม่มีเหลืออยู่อีก ซึ่งจะเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ Comments are closed.