บทความด้านจารึกและเอกสารโบราณในนิตยสารศิลปากร

rss

องค์ความรู้เกี่ยวกับเอกสารโบราณ

กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานหลักในการจัดเก็บ ดูแลอนุรักษ์ เอกสารโบราณที่มีอายุนับ ๑๐๐ ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าของบรรพชนไทยที่ได้สร้างขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลวิทยาการสาขาต่างๆ เรื่องราวหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยทั้งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นอารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการสืบทอดมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเอกสารโบราณที่มีมากที่สุดในประเทศไทย

จารึกเหรียญเงินทวารวดี : หลักฐานใหม่ อักษรขโรษฐี ภาษาสันสกฤต

ชะเอม แก้วคล้าย

คำอ่านและคำแปล เหรียญเงินทวารวดี อักษรขโรษฐี ภาษาสันสกฤต

การอนุรักษ์ใบลาน

ก่องแก้ว วีระประจักษ์

หนังสือใบลานเป็นเอกสารโบราณที่นิยมจดจารพระธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งบทมนต์ต่าง ๆ อันศักดิ์สิทธิ์ เรื่องอันเรื่องด้วยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพสูงสุดของพุทธศาสนิกชน และบันทึกเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นบทนิพนธ์ของอดีตชน ด้วยเหตุนี้ คนไทยโบราณจึงนิยมเรียกหนังสือใบลานเหล่านั้นว่า คัมภีร์ใบลาน

การตรวจพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์

จิราภรณ์ อรัณยะนาค

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นศิลาจารึกที่มีความสำคัญและมีความหมายอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย ด้วยเหตุนี้นักวิชาการหลาย ๆ สาขา ต่างพยายามศึกษาค้นคว้าหาเหตุผลและข้อพิสูจน์ด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับความถนัดและความเชี่ยวชาญของนักวิชาการเหล่านี้ ดร.สุวิชญ์ รัศมิภูมิ รองอธิบดีกรมศิลปากร ได้มอบหมายให้ผู้เขียนดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลสนับสนุนการตรวจพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่าทำขึ้นสมัยสุโขทัยหรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นกันแน่ โดยท่านได้แนะนำให้ทดลองศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน

การคำนวณวันสถาปนาพระบรมธาตุนครชุม

อารี สวัสดี

ในบรรดาศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ศิลาจารึกหลักที่ 3 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าจารึกนครชุม นับเป็นศิลาจารึกหลักหนึ่งที่เล่าเรื่องราวเหตุการณ์และปรากฎการณ์ทั้งบนภาคพื้นดินและท้องฟ้าไว้กระจ่างชัดและน่าสนใจ ข้อความบางตอนในศิลาจารึกหลักนี้ได้กล่าวชัดเจนถึงปีเสวยราชสมบัติของพระยาลิไทในเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยว่าเป็นปี จ.ศ. 1279 หรือ พ.ศ. 1900

Tags

คำว่า "ขอม" ในจารึกสุโขทัย อยุธยา และล้านนา ยางรัก ตู้พระธรรม จารึกเหรียญเงินอารข่าน arakan จารึกฐานพระพุทธรูปไม้ มป.12 ธรรมล้านนา บาลี จารึกฐานพระพุทธรูปนางคำ จารึกวัดชาวอ้ายดาบเรือน ไทยล้านนา ศิลาจารึก อักษรไทยฝักขาม วัดพระสิงห์ บ้านพังพวย อักษรขอมโบราณ จารึกฐานพระพุทธรูป ศรีชยสิงหวรมัน จารึกภูเขียว จารึกปราสาทกันต๊อบ ศิลาจารึกจังหวัดลำปาง จารึกสุโขทัย ศิลาจารึกหลักที่ 7 จารึก อักษรเชลียง จารึกภาษาไทย อักษรขอม อักษรไทยเหนือ วัดใต้เทิง จารึกบนหัวระฆังสัมฤทธิ์ ภาษามคธ วัดคงคาวดี วังสวนผักกาด วัดวิสุทธาราม จารึกบนแผ่นไม้กระดาน จารึกในพระธาตุพนม จารึกเมืองกำแพงเพชร จารึกเมืองอุบลราชธานี จารึกฐานพระพุทธรูปเสลามุจจลินท์ อักษรธรรมอีสาน จารึกแผ่นหินใบเสมา จารึกฐานพระพุทธรูปท่านเจ้าครูศรีวิลาส จารึกฐานพระพุทธรูปมหาราชครูธรรมคุตต์ วรรณกรรมสุภาษิต วรรณกรรมคำสอน วรรณกรรมสอนหญิง จารึกปราสาทตาเมือนธม 1 อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต วรรณคดีสุภาษิต กฤษณาสอนน้อง พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ จารึกบ้านกู่จาน สิม พระพุทธรูปบุเงินจากถ้ำสาริกา รูปอักษรไทย พระมหากษัตริย์ วรรณกรรม ปราสาทเขาดุม วันสำคัญ ประวัติศาสตร์ ลำน้ำเจ้าพระยา แกงได วัดเจดีย์เหลี่ยมเวียงกุมกาม ตำราโค แผนโบราณ เขาน้อย บทนมัสการบนแผ่นอิฐสมัยทวารวดี ปราสาทเมืองแขก จังหวัดนครราชสีมา โคลงเรือพระประทีป ใบจุ้ม อาณาจักรล้านช้าง พระราชวังเดิม โบราณวัตถุ ภาษาบาลี อักษรไทย ธงพระคชาธาร ยันต์ ประชุมพงศาวดาร จดหมายเหตุโหร จมื่นก่งศิลป์ พงศาวดารเหนือ ศักราช วันเดือนปี จันทรคติ พระบรมธาตุนครชุม จารึกนครชุม การพิสูจน์ศิลาจารึก การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน จารึก เย ธมฺมาฯ จารึกเหรียญเงินทวารวดี อักษรขโรษฐี สันสกฤต