ทำเนียบนักภาษาโบราณ

รูปนักภาษาโบราณ

ชื่อ นางสาวก่องแก้ว       สกุล วีระประจักษ์

ตำแหน่ง  นักอักษรศาสตร์ 10 ชช.

(ผู้เชี่ยวชาญด้านเฉพาะด้านภาษา เอกสาร และหนังสือ)

 E-mail: -

เบอร์ติดต่อ : -

ประวัติการศึกษา

  • ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนันทศึกษา
  • มัธยมศึกษาปีที่ 6-8 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง
  • อุดมศึกษา ปริญญาตรี หลักสูตรศิลปบัณฑิต (โบราณคดี) มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2505)
  • อนุปริญญาบรรณารักษ์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2506)

ประวัติการทำงาน

  • (พ.ศ. 2508) รับราชการตำแหน่งบรรณารักษ์ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
  • (พ.ศ. 2518)  เปลี่ยนตำแหน่งเป็น นักภาษาโบราณ 
  • (พ.ศ. 2533) ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ
  • (พ.ศ. 2539) นักอักษรศาสตร์ 9 ชช. (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณ)
  • (พ.ศ. 2544) นักอักษรศาสตร์ 10 ชช. (ผู้เชี่ยวชาญด้านเฉพาะด้านภาษา เอกสาร และหนังสือ)
  • (พ.ศ. 2545) เกษียณอายุราชการ

เกียรติคุณที่ได้รับ

  • (พ.ศ. 2536) นักศึกษาเก่าดีเด่น จากสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร
  • (พ.ศ. 2540) บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษ์ศาสตร์และนิเทสศาสตร์ จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • (พ.ศ. 2541) ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาจารึกภาษาไทย จากสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
  • (พ.ศ. 2558) ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ จากกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  • ได้รับมอบหมายจากสำนักพระราชวังให้เป็นผู้เขียนและเติมอักขระในรูปราชะ (รูปยันต์) ธงพระคชาธาร จำนวน 2 ชุด เก็บรักษาไว้ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 1 ชุด และสำนักพระราชวัง 1 ชุด

ผลงานวิชาการ

   หนังสือ

  • กรมศิลปากร. 700 ปี ลายสือไทย (อักขรวิทยาไทยฉบับย่อ). โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526. 46 หน้า. (จัดพิมพ์ในโอกาสฉลองครบรอบ 700 ปี ลายสือไทย ณ อาคารลายสือไทย ณ อาคารลายสือไทย ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  รามคำแหง  จังหวัดสุโขทัย 17-23 พฤศจิกายน 2526).
  • ________. กระบวนพยุหยาตรา : ประวัติและพระราชพิธี. โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์ และนิยะดา  ทาสุคนธ์. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร, 2531. 127 หน้า (พิมพ์เฉลิมพระเกียรติ  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชหาราช ในมหามงคลสมัยรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531).
  • ________. กระบวนพยุหยาตรา : ประวัติและพระราชพิธี. โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์ และนิยะดา  ทาสุคนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร, 2543. 124 หน้า 
  • ________. การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน. โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2521. 15 หน้า
  • ________. การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน. โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2521. 41 หน้า
  • ________. การสร้างเครื่องคชาภรณ์. โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ นิยม กลิ่นบุบผา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2550. 96 หน้า
  • ________. คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์. โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ วิรัตน์อุนนาทรวรางกูร. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2527. 46 หน้า. (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง 700 ปี ลายสือไทย พุทธศักราช 2527).
  • ________. คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์. โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ วิรัตน์อุนนาทรวรางกูร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2527. 46 หน้า. 
  • ________. จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร.  โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 452 หน้า.
  • ________. ตู้ไทยโบราณ. โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ นิยะดา  ทาสุคนธ์. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2521. 42 หน้า.
  • ________. ตู้ลายทอง ภาค 1 (สมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี). โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ นิยะดา  ทาสุคนธ์. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2521. 310 หน้า.
  • ________. ตู้ลายทอง ภาค 2 ตอน 2 (สมัยรัตนโกสินทร์ กท. 96 - กท. 190). โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ นิยะดา  ทาสุคนธ์. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร,                        2529. 344 หน้า.
  • ________. ตู้ลายทอง ภาค 2 ตอน 3 (สมัยรัตนโกสินทร์ กท. 191 - กท. 284). โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ นิยะดา  ทาสุคนธ์. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2535. 383 หน้า.
  • ________. ตู้ลายทอง ภาค 2 ตอน 4 (สมัยรัตนโกสินทร์ กท. 286 - กท. 373). โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ นิยะดา  ทาสุคนธ์. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2532. 447 หน้า.
  • ________. พระบฎและสมุดภาพไทย. โดย คงเดช  ประพัฒน์ทอง ก่องแก้ว  วีระประจักษ์ และ นิยะดา  ทาสุคนธ์. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปกากร, 2527. 83 หน้า. (พิมพ์เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถ และวาระครบรอบ 7 ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป พ.ศ. 2527).
  • ________. สารนิเทศจากคัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยา. โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 186 หน้า.
  • ก่องแก้ว   วีระประจักษ์. รายงานการวิจัยเรื่อง การวิวัฒน์อักษรธรรมล้านนา. กรุงเทพฯ : กองหอสมุดแห่งชาติ, 2524. (ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2524). (เอกสารอัดสำเนา)
  • ________. รายงานผลการวิจัยเรื่องวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นฉบับตัวเขียนวรรณกรรมสุนทรภู่. กรุงเทพฯ : กองหอสมุดแห่งชาติ, 2529. (ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะอนุกรรมการส่งเสริมการศึกษาวิจัยและประมวลผลงานสุนทรภู่ ในคณะกรรมการอำนวยการโครงการฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ในโครงการฉลอง 200 ปี กวีเอกสุนทรภู่ พ.ศ. 2529). (เอกสารอัดสำเนา)
  • สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. หอพระมณเฑียรธรรม. โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์  และ นิยะดา  ทาสุคนธ์. กรุงเทพฯ, 2525. (จัดพิมพ์เนื่องในวาระฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525).

    บทความ

  • "กระดาษ : การทำ." โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคกลาง เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์, 2543. หน้า 70-74.
  • "กากะเยีย : เครื่องใช้." โดย  ก่องแก้ว  วีระประจักษ์. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคกลาง เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์, 2543. หน้า 261-262.
  • "การคัดถ่ายถอดต้นฉบับ." โดย  ก่องแก้ว  วีระประจักษ์. ประชุมหมายรับสั่ง ภาค 4 ตอน 2 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี, 2537. หน้า 252-263.
  • "คัมภีร์ใบลาน." โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคกลาง เล่ม 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์, 2543. หน้า 959-966.
  • "คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง." โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคกลาง เล่ม 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์, 2543. หน้า 966-972.
  • "จารึกที่สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและจารึกที่พบในจังหวัดพิษณุโลก." โดย ก่องแก้ว  วีระประจักษ์. วัดจุฬามณีปีกาญจนาภิเษก. เชียงใหม่ : ส. ทรัพย์การพิมพ์, 2539. หน้า 158-163.
รูปนักภาษาโบราณ

ชื่อ นางสาวกุลริศา        สกุล รัชตะวุฒิ

ตำแหน่ง  นักภาษาโบราณ 

E-mail: AproOpal@hotmail.com

เบอร์ติดต่อ : 096-038-5240

 

ประวัติการศึกษา

  • สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดหัวข่วง จังหวัดแพร่
  • สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนารีรัตน์ จังหวัดแพร่
  • สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ประวัติการทำงาน

  • (พ.ศ. 2567) - ปัจจุบัน  รับราชการตำแหน่งนักภาษาโบราณ ( พนักงานราชการ) ปฎิบัติงานที่ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 จังหวัดนครราชสีมา 

ผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์/ผลงานเลื่อนระดับ

  • รายงานวิจัย เรื่อง การศึกษาวิเคราะห์จดหมายเหตุอักษรธรรมล้านนา (โครงงานสหกิจ)
  • เผยแพร่องค์ความรู้และคำศัพท์จากเอกสารโบราณ ได้แก่ ผีทะมก, ฝีมะตอย, สวัสดิรักษา และคาถาหัวใจเปรต

ความสนใจทางวิชาการ

  • สนใจงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับล้านนาและอีสาน อักษรธรรมล้านนาและอักษรธรรมอีสาน
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ

ชื่อ นางสาวจตุพร       สกุล ศิริสัมพันธ์

ตำแหน่ง  นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ

 E-mail: -

เบอร์ติดต่อ : -

รูปนักภาษาโบราณ

ชื่อ : นายจรัญ        นามสกุล : ทองวิไล
ตำแหน่ง :  นักภาษาโบราณ 
E-mail : Charan9246415@hotmail.com
เบอร์ติดต่อ : 08 7924 6415


ประวัติการศึกษ
    2547  ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร
    2541   ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผลงานวิชาการ

  • การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมภาคใต้เรื่องสินนุราชคำกาพย์ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2547
  • องค์ความรู้และภูมิปัญญาจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้  2547    
  • การศึกษาตำรายาสมุนไพรแผนโบราณฉบับวัดบ้านลุ่ม อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา 2560
  • วรรณกรรมภาคใต้เรื่องยศกิจ ฉบับหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา 2562
  • การศึกษาพระมาลัยกลอนสวดฉบับเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ 2564

บทความ

  • เฉลว : กฎ กติกาหรือมายาคติของบรรพชน นิตยสารศิลปากร ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 
  • กา 4 ฝ่าย : ตำนานพระบรมธาตุและสมณศักดิ์พิเศษพระสงฆ์หัวเมืองภาคใต้ นิตยสารศิลปากร ปีที่ 60 ฉบับที่ 2
  • วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ประเภทหนังสือบุด : สารัตถะและการสืบทอด นิตยสารศิลปากร ปีที่ 62 ฉบับที่ 1
  • ไหว้ลายลักษณ์ : วรรณกรรมแหล่บูชารอยพระพุทธบาทแบบฉบับภาคใต้ นิตยสารศิลปากร ปีที่ 63 ฉบับที่ 6
  • ผมถักเปียมัดคัมภีร์ใบลาน : ภูมิปัญญา ศรัทธา ของสตรีไทยโบราณ นิตยสารศิลปากร ปีที่ 66 ฉบับที่ 1
     

ความสนใจทางวิชาการ

    ปริวรรต คัดถ่ายถอด วิเคราะห์เอกสารโบราณภาคใต้
 

รูปนักภาษาโบราณ

ชื่อ นาย จามีกร    สกุล ชูทรัพย์

ตำแหน่ง  นักภาษาโบราณชำนาญการ

E-mail : guntz_100years@hotmail.co.th

เบอร์ติดต่อ : -

 

ประวัติการศึกษา

  • (2554) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี
    มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • (2559) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จารึกศึกษา) ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี
    มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์/ผลงานเลื่อนระดับ

 

บทความ

  • (2561) พระปรมัตถ์กลอนสวด : การดัดแปลงหลักธรรมสู่วรรณกรรม
  • (2562) ความเชื่อเรื่องการสร้างพระธรรม
  • (2567) เกร็ดความรู้เรื่องหนังสือสมุดไทย จากละครบุษบาลุยไฟ

วิทยานิพนธ์

  • (2554) การศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรม เรื่อง สุริยพันธ์คำกลอน
  • (2561) การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมกลอนสวด เรื่อง พระปรมัตถ์

ผลงานเลื่อนระดับ

  • (2566) การถ่ายถอด - แปล คัมภีร์ใบลาน เรื่อง พิมพาขะนุ่นงิ้ว
  • (2566) รายงานการสำรวจ ทำทะเบียนและบัญชีสังเขปเอกสารโบราณ วัดอินทารามวรวิหาร
    แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
  • (2566) คู่มือการลงทะเบียนและทำบัญชีสังเขปคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย
    สำหรับการทำงานภาคสนาม ของกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก (ปรับปรุงจากคู่มือฉบับปี
    พ.ศ.2546 และ 2552)

ความสนใจทางวิชาการ

  • การปฏิบัติงานภาคสนาม
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ

ชื่อ นายจุง       สกุล ดิบประโคน

ตำแหน่ง  นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ

(ผู้อำนวยการกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก)

 E-mail: -

เบอร์ติดต่อ : -

รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ
รูปนักภาษาโบราณ

 ชื่อ : นายเทิม    นามสกุล : มีเต็ม
ตำแหน่ง :  นักภาษาโบราณ (ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร)
E-mail : -
เบอร์ติดต่อ : 02 2809855

ประวัติการศึกษา

  • (พ.ศ. 2491) บาลีไวยากรณ์  สำนักเรียนพระปริยัติธรรม  วัดสุวรรณาราม
  • (พ.ศ. 2495) นักธรรมเอก สำนักเรียนพระปริยัติธรรม  วัดสุวรรณาราม
  • (พ.ศ. 2513) มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดอมรินทราราม
  • ศึกษาอักษรขอม จาก หลวงอาไปล่
  • ศึกษาอักษรโบราณ จาก อาจารย์ ประสาร บุญประคอง อาจารย์ทอง  ไชยชาติ  และอาจารย์ จำปา  เยื้องเจริญ
  • ได้รับคำแนะนำเรื่องการศึกษาจารึก  จาก ศาสตราจารย์ ฉ่ำ  ทองคำวรรณ และ ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ  ณ นคร
  • ( พ.ศ. 2557) ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจารึกศึกษา ประจำปีการศึกษา 2556  คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประวัติการทำงาน

  • (พ.ศ. 2510) รับราชการครั้งแรก ตำแหน่งพนักงานหนังสือโบราณ  แผนกหนังสือตัวเขียนและจารึก กองหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
  • (พ.ศ. 2515) เสมียนพนักงานสามัญ ชั้นจัตวา แผนกหนังสือตัวเขียนและจารึก
  • (พ.ศ. 2518) นักภาษาโบราณ 1  งานบริการหนังสือภาษาโฐราณ กองหอสมุดแห่งชาติ
  • (พ.ศ. 2533) เกษียณอายุราชการ ตำแหน่งนักภาษาโบราณ 5 
  • เมื่อครบเกษียณอายุราชการ กรมศิลปากรได้ขอให้ปฏิบัติงานต่อในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญภาษาตะวันออก ปฏิบัติงานสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ผลงานสำคัญ

  • เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสัมนาเรื่อง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ร่วมอ่าน ถ่ายถอด ศึกษาวิเคราะห์ จัดทำคำอธิบายศัพท์  เรียบเรียงบทความวิชาการ และเป็นคณะทำงานในการจัดพิมพ์ผลการสัมนาเป็นหนังสือ "ศิลาจารึกพ่อขันรามคำแหง จารึกหลักที่ 1"  พ.ศ. 2520