บทความด้านจารึกและเอกสารโบราณในนิตยสารศิลปากร

rss

องค์ความรู้เกี่ยวกับเอกสารโบราณ

กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานหลักในการจัดเก็บ ดูแลอนุรักษ์ เอกสารโบราณที่มีอายุนับ ๑๐๐ ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าของบรรพชนไทยที่ได้สร้างขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลวิทยาการสาขาต่างๆ เรื่องราวหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยทั้งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นอารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการสืบทอดมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเอกสารโบราณที่มีมากที่สุดในประเทศไทย

จารึกพระเจ้าจิตรเสน กษัตริย์แห่งลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี

ก่องแก้ว วีระประจักษ์

ในปัจจุบันมีการพบเอกสารโบราณประเภทจารึกตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื้อหาที่อยู่ในจารึกเป็นหลักฐานสำคัญ บ่งบอกถึงเรื่องราวอันเกิดขึ้นในอดีตอย่างตรงไปตรงมา เชื่อถือได้เป็นข้อเท็จจริงที่ใช้ยืนยันประวัติศาสตร์โดยไม่อาจปฏิเสธ เนื่องจากจารึก คือประกาศซี่งผู้สร้างต้องเป็นบุคคลชั้นหัวหน้า ผู้นำ หรือผู้ปกครองที่มีฐานะสูง มีเงิน มีกำลังอำนาจ จึงจะสามารถสร้างจารึกขี้นได้ โดยมีความประสงค์ที่จะบอกเรื่องราวกิจกรรม หรือการกระทำของตนให้คนในอำนาจปกครอง หรือ กลุ่มชนในสังคมรอบ ๆ ปริมณฑลแห่งนั้น ได้ทราบรับรู้ โดยไม่มีเจตนาที่จะจารึกไว้อ่านเอง ด้วยเหตุนี้จารึกจึงเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าบรรพชนในอดีตแต่ละท้องถิ่นแห่งยุคสมัยต่าง ๆ นั้น มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ดำเนินชีวิต รู้และเข้าใจชีวิตเพื่ออยู่ในโลกนี้ด้วยวิธีการใดจึงสามารถรักษาสถานภาพของอารยธรรมแห่งสังคมให้ดำรงอยู่ พัฒนา และยังถ่ายทอดให้เกิดผลประโยชน์เป็นมรดกสืบมาได้จนถึงปัจจุบัน

วิเคราะห์จารึกเขมรในประเทศไทย (ตอนที่ 2)

ชะเอม แก้วคล้าย

วิเคราะห์จารึกเขมรในประเทศไทย (ตอนที่ 2) ความต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว โดยวิเคราะห์จารึกสด๊กก๊อกธม 2 จารึกบ้านพังพวย จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 2 จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 3 จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 4 จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 5 จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง 6 จารึกวังสวนผักกาด จารึกปราสาทหินพิมาย 2

จารึกวัดโพธิ์ มรดกความทรงจำแห่งโลก

อรวรรณ ทรัพย์พลอย

สืบเนื่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศรับรองจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ในทะเบียนนานาชาติ (International Register) นับเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีของประเทศชาติที่มรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าของคนไทยเป็นที่ยอมรับในสังคมโลก ยังความภูมิใจแก่คนไทยทั้งประเทศ

จารึกพระเจ้าจิตรเสน บนฐานรูปเคารพหินทรายที่พบจากแหล่งโบราณคดีดอนขมเงิน

ทศพร ศรีสมาน

จากการขุดแต่งโบราณสถานดอนขุมเงิน ที่บ้านหนองฮี ตำบลเด่นราษฎร์ อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ. 2548 โดยสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด ทำให้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่มีความสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ นั่นคือ จารึกของพระเจ้าจิตรเสน หรือ พระเจ้าศรีมเหทรวรมัน

Tags

กรมเกณฑ์บุญ กรมศิลปากร ก่องแก้ว วีระประจักษ์ การพิมพ์หนังสือ การแสดงความเคารพ กำลังพล ขอมโบราณ คัมภีร์ใบลาน จดหมายเหตุ จดหมายเหตุโหร จมื่นก่งศิลป์ จังหวัดร้อยเอ็ด จันทรคติ จารึก จารึกฐานพระพุทธรูป จารึกนครชุม จารึกบ้านกู่จาน จารึกปากระฆัง จารึกแผ่นทอง จารึกพระเจ้าจิตรเสน จารึกภาษาไทย จารึกภูเขียว จารึกสุโขทัย ช้าง ตำนานกรุงเก่า ตุ๊กตาศิลาทราย ตู้พระธรรม เทศนาจุลยุทธการวงศ์ ธงพระคชาธาร ธรรมล้านนา บ้านตาดทอง บาลี ใบบอก ประชุมพงศาวดาร ประวัติศาสตร์ ปราสาทเปือยน้อย พงศาวดารเหนือ พระกัลปนาวัด พระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธรูปบุเงินจากถ้ำสาริกา พระพุทธไสยาสน์ภูเวียง พระภิกษุ พระมหากษัตริย์ พิไชยสงคราม แพทย์แผนไทยโบราณ ภาษามคธ ภาษาสันสกฤต มีดหมอ มีดอาคม ยันต์ ราชวงศ์มังราย รูปอักษรไทย ล้านช้าง วรรณกรรม วัดใต้เทิง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดภูเขาทอง วันเดือนปี เวชศาสตร์ ศักราช ศาลเจ้าพ่อหอเชือก ศิลาจารึก สงขลา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระสุริโยทัย สมุดไทย สิม หนังสือตัวพิมพ์ หนังสือสมุดไทย หมายรับสั่ง เหรียญเงินพม่าโบราณ แหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ อักษรขอม อักษรขอมโบราณ อักษรเชลียง อักษรไทยฝักขาม อักษรไทยเหนือ อักษรปัลลวะ เอกสารโบราณ