ระเบียบใช้บริการ

เอกสารสำหรับการขออนุญาต

         ๑. พระภิกษุ สามเณร/นักบวชทั่วไป

  • หนังสือสุทธิ
  • หนังสือรับรองจากวัดต้นสังกัด/สถานศึกษา (กรณีศึกษาค้นคว้าเพื่อการวิจัย)
  • ระยะเวลาการศึกษาค้นคว้า ๓ เดือน ต่ออายุได้ ๓ ครั้ง
    (กรณีพระภิกษุ สามเณร นักบวชทั่วไป ศึกษาค้นคว้าเพื่อการวิจัย ใช้หลักฐานเช่นเดียวกับนิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา)

         ๒. ประชาชนทั่วไป

  • หนังสือขออนุญาตใช้เอกสารโบราณ
  • ระยะเวลาการศึกษา ๓ เดือน ต่ออายุได้ ๓ ครั้ง

         ๓. นิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา

  • สำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา
  • หนังสือรับรองจากสถานศึกษา
  • ระยะเวลาการศึกษา ๑ ปี ต่ออายุได้ ๓ ครั้ง

         ๔. นักวิจัยอิสระ

  • หนังสือขออนุญาตใช้เอกสารโบราณ
  • ระยะเวลาการศึกษาค้นคว้า ๓ เดือน ต่ออายุได้ ๓ ครั้ง

         ๕. ข้าราชการ หน่วยงานต่างๆ ของรัฐ/มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ

  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้มาศึกษาค้นคว้า
  • หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด
  • ระยะเวลาการศึกษา ๑ ปี ต่ออายุได้ ๓ ครั้ง

         ๖. ชาวต่างชาติ (For foreign researcher should contact national research council of Thailand [NRCT])

  • หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสําเนาบัตรประจำตัว (Permission letter and ID card from National Research Council of Thailand)
  • ระยะ ๑ ปี (Time for use document between 1 years.)
    (กรณีที่เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของไทย ต้องการศึกษาค้นคว้าเพื่อการวิจัย ใช้หลักฐานเช่นเดียวกับนิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา)

         ๗. รายการโทรทัศน์/การขอบันทึกเทป

  • หนังสือรับรองจากบริษัท/หน่วยงานต้นสังกัด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาขอถ่ายทำ
  • บทรายการโทรทัศน์

วิธีการขออนุญาตใช้

  1. กรอกแบบฟอร์มขอดูบัญชี เพื่อตรวจสอบเลขที่ของเอกสารที่ต้องการศึกษาค้นคว้า
  2. กรอกแบบฟอร์มขออนุญาตใช้เอกสารเพื่อเสนอผู้อำนวยการ
  3. เมื่อได้รับอนุญาตต้องกรอกแบบฟอร์มขอใช้เอกสาร สำนักหอสมุดแห่งชาติพิจารณาอนุญาตรายการที่ได้ยื่นขออนุญาตไว้
  4. กรณีต้องการมีผู้ช่วยในการค้นคว้าต้องกรอกแบบฟอร์มขออนุญาต เพื่อนำเสนอผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติพิจารณาอนุญาต โดยแนบหลักฐานการขออนุญาตเช่นเดียวกับผู้ขอใช้บริการ

หลักปฏิบัติในการใช้เอกสาร

  1. เหตุที่เอกสารส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องระมัดระวัง ไม่พับ ขีดเขียน ทำเครื่องหมายใดๆ บนเอกสาร และอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา
  2. เจ้าหน้าที่มีสิทธิแนะนำว่ากล่าวตักเตือน ขอร้อง และงดเว้นการกระทำที่จะเป็นอันตรายต่อเอกสารทุกกรณี
  3. เจ้าหน้าที่มีสิทธิในการระงับการให้บริการ ในกรณีที่ผู้ใช้บริการไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑-๒
  4. กรณีเกิดความเสียหายต่อเอกสารโบราณ ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบ และชดใช้ค่าเสียหาย
  5. ผผู้ใช้บริการต้องไม่นำเอกสารโบราณจากภายนอกเข้ามาในหอสมุดแห่งชาติ หรือนำเอกสารโบราณออกไปจากห้องบริการ ผู้ใช้บริการต้องไม่นำบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้เอกสารโบราณ

การทําสําเนาเอกสาร/การบันทึกภาพเอกสารโบราณ

        ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการ ดำเนินการทำสำเนาเอกสาร/บันทึกภาพเอกสารโบราณ ด้วยตนเอง หากต้องการทำสำเนาเอกสาร/บันทึกภาพเอกสารโบราณ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ


การบริการทําสําเนาเอกสารโบราณ

  • การสําเนารูปภาพจากเอกสารต้นฉบับ
  • การสําเนาพิมพ์ภาพจากเอกสารต้นฉบับ

สำหรับผู้ใช้ใหม่

  1. ผู้ใช้บริการติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่เคาน์เตอร์บริการเพื่อสืบค้นข้อมูลเอกสารโบราณที่ต้องการ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะแนะนำบัญชีเอกสารโบราณ และให้ผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มขออนุญาตตรวจค้นบัญชี
  2. ผู้ใช้บริการตรวจค้นบัญชีเรียบร้อยแล้ว จะต้องจดหมวด หมู่ ชื่อเรื่อง และเลขที่ของเอกสารที่ต้องการใช้ให้ครบถ้วน เพื่อแนบเรื่องขออนุญาต สามารถพิมพ์ หรือเขียนด้วยลายมือตัวบรรจงก็ได้
  3. ผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มขออนุญาตใช้เอกสารโบราณ โดยแนบหลักฐาน ตามประเภทของผู้ใช้บริการ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป หรือ นักศึกษา นักวิจัย นักวิจัยต่างชาติ และต้องยื่นบัตรประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการหน่วยงาน หรือ บัตรนักศึกษา ถ้าเป็นพระภิกษุต้องยื่นใบสุทธิ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย
  4. เจ้าหน้าที่จะนำเรื่องที่ขอใช้บริการเอกสารโบราณ ส่งให้ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติพิจารณาอนุญาต และรอการอนุมัติ 2-3 วันทำการ

    โดยผู้ใช้บริการสามารถโทรมาสอบถามเรื่องการขออนุญาตใช้เอกสารโบราณได้ที่เบอร์ 02 280 9855

สำหรับผู้ใช้ใหม่

  1. เมื่อเรื่องที่ขอใช้บริการได้รับอนุมัติแล้ว ให้ผู้ใช้บริการติดต่อเคาน์เตอร์บริการ แจ้งชื่อ นามสกุล จากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้กรอกแบบขอใช้เอกสารโบราณ และนำเอกสารมาให้บริการครั้งละไม่เกิน 5 รายการ
  2. ระหว่างที่ใช้บริการเอกสารโบราณ ผู้ใช้บริการมีข้อพึงปฏิบัติเมื่อใช้เอกสารโบราณ ดังนี้
      1. ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปเอกสารโบราณ หากต้องการทำสำเนา กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่เท่านั้น
      2. ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้ามาในห้องบริการเอกสารโบราณ
      3. เมื่อเจ้าหน้าที่นำเอกสารมาให้บริการ ผู้ใช้บริการสวมถุงมือที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ วางเอกสารต้นฉบับบนผ้าเขียว และเปิดเอกสารอ่านด้วยความระมัดระวัง โดยนำไม้สามเหลี่ยมวางพิงด้านหลัง เพื่อป้องกันเอกสารชำรุด
      4. ห้ามขีดเขียน คัดลอกโดยวิธีทาบกระดาษบนเอกสาร หรือสัมผัสตัวอักษร ในต้นฉบับเพื่อป้องกันเอกสารต้นฉบับเลอะเลือน
      5. เมื่อใช้บริการต้นฉบับเอกสารโบราณเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ห่อผ้าเขียวนำกลับมาคืนเจ้าหน้าที่ และถอดถุงมือคืนบริเวณจุดคืนถุงมือที่ใช้แล้ว
      6. หากต้องการทำสำเนา ให้คัดแยกเอกสารนั้น ๆ ออกจากเอกสารที่ต้องการส่งคืน จากนั้นจึงทำตามขั้นตอนการขอสำเนาต่อไป
    สำหรับการสืบค้นเอกสารโบราณสามารถสืบค้นรายการเอกสารผ่านเว็บไซต์ฐานข้อมูลเอกสารโบราณ www.manuscript.nlt.go.th

ขั้นตอนการขอสำเนาเอกสาร

  1. เลือกเอกสารที่ต้องการทำสำเนา
  2. กรอกแบบฟอร์มสำหรับส่งสำเนา ๑ เลขที่ ต่อ ๑ ใบ
  3. นําแบบฟอร์มเสียบไว้กับเอกสารต้นฉบับ
  4. ส่งคืนเอกสารให้เจ้าหน้าที่นำเข้าชั้นพัก เพื่อรอส่งสําเนา
  5. เจ้าหน้าที่จะพาลงไปที่ห้องบริการโสตฯ เพื่อจองคิว หลังจากใช้เอกสารตามรายการ ที่ขอไว้ครบถ้วนแล้วเท่านั้น

การขออนุญาตพิมพ์ภาพเอกสารโบราณ

  1. ผู้ขออนุญาตพิมพ์ภาพเอกสารโบราณในหนังสือ งานวิจัย วิยานิพนธ์ บทความ ฯลฯ ที่ไม่ได้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สามารถพิมพ์ภาพเอกสารโบราณประกอบ โดยปฏิบัติตามระเบียบการให้บริการเอกสารโบราณของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
  2. ผู้ขออนุญาตพิมพ์ภาพเอกสารโบราณในหนังสือ งานวิจัย วิยานิพนธ์ บทความ ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ให้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากรพิจารณา
  3. การขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือที่เป็นลิขสิทธิ์ของกรมศิลปากร สามารถติดต่อสอบถามระเบียบที่สำนักวรรรกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร