วิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับจารึกของกองหอสมุดแห่งชาติ
หมวดหมู่: การปฏิบัติงานเกี่ยวกับจารึก, บทความในนิตยสารศิลปากร เผยแพร่เมื่อ: 08 ส.ค. 2567โดย:SuperUser Accountจำนวนผู้เข้าชม:20
ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และก่องแก้ว วีระประจักษ์

การปฏิบัติงานมิว่าจะเป็นงานประเภทใด ต่างมีความสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์ในตัวเองอยู่แล้วทั้งสิ้น ดังนั้นจึงมิใช่ของแปลกที่งานในด้านการอ่านแปลจารึกจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากงานสาขาอื่น ๆ ถ้าจะพิจารณากันโดยถ่องแท้จะเห็นได้ว่างานการอ่านแปลจารึกนี้ เป็นงานที่แปลกกว่างานประเภทอื่น ๆ ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ เพราะมิได้เป็นการอ่านแปลหนังสือธรรมดา แต่เป็นการอ่าน แปลจากหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยวิธีจารึก วิธีจารึกคือ การเขียนตัวอักษรด้วยเครื่องมือที่มีความแหลมคม ที่เรียกว่า เหล็กจาร เจาะเป็นร่องลึกลงไปในเนื้อวัตถุที่รองรับการเขียนให้มีรูปรอยเส้นเป็นตัวอักษร ส่วนวัตถุที่ใช้รองรับการเขียนด้วยวิธีจารึกนี้ได้แก่ ศิลา เงิน ทอง ตะกั่ว ไม้และอิฐ เป็นต้น



ศิลปากร
ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม  พ.ศ. 2525