จารึกวัดตระพังนาค อักษรขอม ภาษาบาลี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21
หมวดหมู่: จารึก, บทความในนิตยสารศิลปากร เผยแพร่เมื่อ: 08 ส.ค. 2567โดย:SuperUser Accountจำนวนผู้เข้าชม:24
ชะเอม แก้วคล้าย

พระโบราณวัตถาจารย์ (ทิม) เจ้าอาวาสวัดราชธานี และเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ได้พบศิลาจารึกหลักนี้ที่วัดตระพังนาค แล้วมอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย แต่ทะเบียนประวัติจารึกไม่ได้ระบุว่าพบและมอบให้เมื่อใด ลักษณะของแผ่นจารึกเป็นรูปสี่เหลี่ยมบาง ภายในหน้าที่มีจารึก มีกรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกรอบรูปถ่าย ภายนอกกรอบทั้งสี่ด้าน มีจารึกอักษรชื่อเทพเจ้าประจำทิศทั้งสี่ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมมีจารึกอักษรเริ่มต้นด้วยคำว่า นโม พุทฺธาย สิทฺธํ แล้วต่อด้วยสระและพยัญชนะไปจนจบ ต่อจากนั้น จึงเริ่มต้นด้วยบทสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ แต่บทสังฆคุณมีเพียงบทย่อเท่านั้น



ศิลปากร
ปีที่ 29 ฉบับที่ 6 มกราคม  พ.ศ. 2529