“ขุนนางตำแหน่งสินาหวะผู้อุปถัมภ์ วิหารคนก่อนได้ถวายข้าทาสและวัตถุสิ่งของแก่วิหาร ได้แก่ ข้าทาส ต้นหมากและต้นมะพร้าวในสวนที่ตโนนและสวนที่ใกล้วิหาร รวมข้าทาสผู้รับใช้ในวิหารและผู้เฝ้ารักษาสวนทั้งสิ้น ๒๔ คน ทั้งหม้อกลศสำริด ถาด สังเค็ด บัลลังก์ กลองพร้อมไม้ตี ผ้าชนิดต่าง ๆ ฉากกั้น ที่วางคัมภีร์ ที่นา และควาย ต่อมาสินาหวะคนปัจจุบันก็ได้ถวาย ข้าทาส ต้นหมาก ต้นมะพร้าวแก่วิหารเช่นเดียวกัน" ความโดดเด่นของจารึกนี้ เช่น
(๑) การบอกมหาศักราชด้วย ศัพท์สัญลักษณ์ภาษาสันสกฤต คือ “จนฺทฺรรเสนฺทฺริไยะ ภุกฺเต ศกปเตรฺ อบฺเท” แปลว่า ในปีแห่งราชาศกะที่ล่วงไปแล้ว กำหนดโดย“จนฺทฺร” แปลว่า พระจันทร์ เป็นสัญลักษณ์ของเลข ๑, “รส” หมายถึง รสชาติทั้ง ๖ คือ รสเผ็ด เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม และฝาด, “อินฺทฺริไยะ” หมายถึง อินทรีย์ ๕ ดังนั้น “จนฺทฺรรเสนฺทฺริไยะ” จึงเท่ากับ มหาศักราช ๕๖๑ (หรือพ.ศ.๑๑๘๒) ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าภววรมันที่ ๒ (พ.ศ.๑๑๗๘ – ๑๑๙๘)
(๒) อักษรและอักขรวิธีในจารึกนี้ใช้เป็นแม่แบบในการศึกษา “อักษรปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒”
(๓) สามารถ สันนิษฐานได้ว่าศาสนสถานแห่งนี้เกี่ยวเนื่องในพุทธศาสนา เพราะมีการเรียกศาสนสถานว่า “วิหาร” ในที่นี้ หมายถึง วัดพุทธ (Buddhist monastery) ไม่เรียกว่า “อาศรม” และการใช้คำว่า “ปลฺลงฺก” เป็นคำภาษา ปรากฤตและบาลีของคำว่า “ปรฺยงฺก” หมายถึง “แท่นบูชา หรือฐาน” ในพระพุทธศาสนา ทั้งมีการสลักลวดลาย รูปดอกบัว ที่ส่วนบนของจารึก อาจหมายถึง ดอกบัวสำหรับถวายพระพุทธรูป
บรรณานุกรม
“ศิลาจารึกเขารัง ปจ.๑ ภาษาสันสกฤต-เขมร อักษรปัลลวะ พุทธศักราช ๑๑๘๒” จัดแสดง ณ กลุ่มหนังสือเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชำติ.
จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒ แก้ไข เพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๙. หน้า ๗๗ – ๘๐.
ศูนย์สันสกฤตศึกษา. (๒๕๖๔, ตุลาคม ๔) ยลจังหวัดสระแก้ว ยอดแหล่งจำรึกแห่งภาคตะวันออก [วิดีโอ]. ยูทูบ. https://www.youtube.com/@sanskritstudiescentrethail6608 Kunthea Chhom. Vihāras in ancient Cambodia as evidenced in inscriptions. ค้นเมื่อ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๗ จำก https://shs.hal.science/halshs-04137416).