เอกสารสำหรับการขออนุญาตใช้เอกสารโบราณ
1. พระภิกษุ สามเณร/นักบวชทั่วไป
- หนังสือสุทธิ หรือบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
- หนังสือรับรองจากวัดต้นสังกัด/สถานศึกษา (กรณีศึกษาค้นคว้าเพื่อการวิจัย)
- ระยะเวลาการศึกษาค้นคว้า 3 เดือน ต่ออายุได้ 3 ครั้ง
(กรณีพระภิกษุ สามเณร นักบวชทั่วไป ศึกษาค้นคว้าเพื่อการวิจัย ใช้หลักฐานเช่นเดียวกับนิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา)
2. ประชาชนทั่วไป
- บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
- หนังสือขออนุญาตใช้เอกสารโบราณ
- ระยะเวลาการศึกษา 3 เดือน ต่ออายุได้ 3 ครั้ง
3. นิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา
- บัตรประจำตัวนักศึกษาเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
- หนังสือรับรองจากสถานศึกษา
- ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี ต่ออายุได้ 3 ครั้ง
4. นักวิจัยอิสระ
- บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
- หนังสือขออนุญาตใช้เอกสารโบราณ ที่ออกด้วยตนเอง
- ระยะเวลาการศึกษาค้นคว้า 1 ปี ต่ออายุได้ 3 ครั้ง
5. ข้าราชการ หน่วยงานต่างๆ ของรัฐ/มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ
- บัตรประจำตัวข้าราชการ/หน่วยงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
- หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด
- ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี ต่ออายุได้ 3 ครั้ง
6. ชาวต่างชาติ (For foreign researcher should contact national research council of Thailand [NRCT])
- หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสําเนาบัตรประจำตัว (Permission letter and ID card from National Research Council of Thailand)
- ระยะ 1 ปี (Time for use document between 1 years.)
(กรณีที่เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของไทย ต้องการศึกษาค้นคว้าเพื่อการวิจัย ใช้หลักฐานเช่นเดียวกับนิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา)
7. รายการโทรทัศน์/การขอบันทึกเทป
- หนังสือรับรองจากบริษัท/หน่วยงานต้นสังกัด
- บัตรประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
- บทรายการโทรทัศน์
วิธีขออนุญาตใช้เอกสารโบราณ
- กรอกแบบฟอร์มขอดูบัญชี เพื่อตรวจสอบเลขที่ของเอกสารที่ต้องการศึกษาค้นคว้า
- กรอกแบบฟอร์มขออนุญาตใช้เอกสารเพื่อเสนอผู้อำนวยการ
- เมื่อได้รับอนุญาตต้องกรอกแบบฟอร์มขอใช้เอกสาร สำนักหอสมุดแห่งชาติพิจารณาอนุญาตรายการที่ได้ยื่นขออนุญาตไว้
- กรณีต้องการมีผู้ช่วยในการค้นคว้าต้องกรอกแบบฟอร์มขออนุญาต เพื่อนำเสนอผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติพิจารณาอนุญาต โดยแนบหลักฐานการขออนุญาตเช่นเดียวกับผู้ขอใช้บริการ
- ผู้ใช้บริการสามารถต่ออายุการขอใช้บริการเอกสารโบราณก่อนครบกำหนดหมดอายุการใช้เอกสารโบราณ ภายใน 1 เดือน (ระบบจะแจ้งเตือนผ่านอีเมล)
หลักปฏิบัติในการใช้เอกสารโบราณ
- เหตุที่เอกสารส่วนใหญ่อยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องระมัดระวัง ไม่พับ ขีดเขียน ทำเครื่องหมายใดๆ บนเอกสาร และอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา
- เจ้าหน้าที่มีสิทธิแนะนำว่ากล่าวตักเตือน ขอร้อง และงดเว้นการกระทำที่จะเป็นอันตรายต่อเอกสารทุกกรณี
- เจ้าหน้าที่มีสิทธิในการระงับการให้บริการ ในกรณีที่ผู้ใช้บริการไม่ปฏิบัติตามข้อ 1-2
- กรณีเกิดความเสียหายต่อเอกสารโบราณ ผู้ใช้บริการต้องรับผิดชอบ และชดใช้ค่าเสียหาย
- ผู้ใช้บริการต้องไม่นำเอกสารโบราณจากภายนอกเข้ามาในหอสมุดแห่งชาติ หรือนำเอกสารโบราณออกไปจากห้องบริการ ผู้ใช้บริการต้องไม่นำบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้เอกสารโบราณ
การทําสําเนาเอกสาร/การบันทึกภาพเอกสารโบราณ
ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการ ดำเนินการทำสำเนาเอกสาร/บันทึกภาพเอกสารโบราณ ด้วยตนเอง หากต้องการทำสำเนาเอกสาร/บันทึกภาพเอกสารโบราณ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ
สำหรับผู้ใช้ใหม่
- ผู้ใช้บริการติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่เคาน์เตอร์บริการเพื่อสืบค้นข้อมูลเอกสารโบราณที่ต้องการ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะแนะนำบัญชีเอกสารโบราณ และให้ผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มขออนุญาตตรวจค้นบัญชี
- ผู้ใช้บริการตรวจค้นบัญชีเรียบร้อยแล้ว จะต้องจดหมวด หมู่ ชื่อเรื่อง และเลขที่ของเอกสารที่ต้องการใช้ให้ครบถ้วน เพื่อแนบเรื่องขออนุญาต สามารถพิมพ์ หรือเขียนด้วยลายมือตัวบรรจงก็ได้
- ผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มขออนุญาตใช้เอกสารโบราณ โดยแนบหลักฐาน ตามประเภทของผู้ใช้บริการ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป หรือ นักศึกษา นักวิจัย นักวิจัยต่างชาติ และต้องยื่นบัตรประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการหน่วยงาน หรือ บัตรนักศึกษา ถ้าเป็นพระภิกษุต้องยื่นใบสุทธิ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย
- เจ้าหน้าที่จะนำเรื่องที่ขอใช้บริการเอกสารโบราณ ส่งให้ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติพิจารณาอนุญาต และรอการอนุมัติ 2-3 วันทำการ
โดยผู้ใช้บริการสามารถโทรมาสอบถามเรื่องการขออนุญาตใช้เอกสารโบราณได้ที่เบอร์ 02 280 9855
ผู้ใช้ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
- เมื่อเรื่องที่ขอใช้บริการได้รับอนุมัติแล้ว ให้ผู้ใช้บริการติดต่อเคาน์เตอร์บริการ แจ้งชื่อ นามสกุล จากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้กรอกแบบขอใช้เอกสารโบราณ และนำเอกสารมาให้บริการครั้งละไม่เกิน 5 รายการ
- ระหว่างที่ใช้บริการเอกสารโบราณ ผู้ใช้บริการมีข้อพึงปฏิบัติเมื่อใช้เอกสารโบราณ ดังนี้
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปเอกสารโบราณ หากต้องการทำสำเนา กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่เท่านั้น
- ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้ามาในห้องบริการเอกสารโบราณ
- เมื่อเจ้าหน้าที่นำเอกสารมาให้บริการ ผู้ใช้บริการสวมถุงมือที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ วางเอกสารต้นฉบับบนผ้าเขียว และเปิดเอกสารอ่านด้วยความระมัดระวัง โดยนำไม้สามเหลี่ยมวางพิงด้านหลัง เพื่อป้องกันเอกสารชำรุด
- ห้ามขีดเขียน คัดลอกโดยวิธีทาบกระดาษบนเอกสาร หรือสัมผัสตัวอักษร ในต้นฉบับเพื่อป้องกันเอกสารต้นฉบับเลอะเลือน
- เมื่อใช้บริการต้นฉบับเอกสารโบราณเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ห่อผ้าเขียวนำกลับมาคืนเจ้าหน้าที่ และถอดถุงมือคืนบริเวณจุดคืนถุงมือที่ใช้แล้ว
- หากต้องการทำสำเนา ให้คัดแยกเอกสารนั้น ๆ ออกจากเอกสารที่ต้องการส่งคืน จากนั้นจึงทำตามขั้นตอนการขอสำเนาต่อไป
สำหรับการสืบค้นเอกสารโบราณสามารถสืบค้นรายการเอกสารผ่านเว็บไซต์ฐานข้อมูลเอกสารโบราณ www.manuscript.nlt.go.th
การบริการทําสําเนาเอกสารโบราณ
- การสําเนารูปภาพจากเอกสารต้นฉบับ (ค่าบริการภาพละ 30 บาท)
- การสําเนาพิมพ์ภาพจากเอกสารต้นฉบับ (ค่าบริการขนาด A4 แผ่นละ 10 บาท, A3 แผ่นละ 15 บาท)
ขั้นตอนการขอสำเนาเอกสารโบราณ
- เลือกเอกสารที่ต้องการทำสำเนา
- กรอกแบบฟอร์มสำหรับส่งสำเนา 1 เลขที่ ต่อ 1 ใบ
- นําแบบฟอร์มเสียบไว้กับเอกสารต้นฉบับ
- ส่งคืนเอกสารให้เจ้าหน้าที่นำเข้าชั้นพัก เพื่อรอส่งสําเนา
- เจ้าหน้าที่จะดำเนินการประสานงานห้องบริการโสตฯ เพื่อนัดหมายรับงาน
การขออนุญาตตีพิมพ์ภาพเอกสารโบราณ
- ผู้ขออนุญาตตีพิมพ์ภาพเอกสารโบราณในหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ ฯลฯ ให้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากรพิจารณา
- การขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือที่เป็นลิขสิทธิ์ของกรมศิลปากร สามารถติดต่อสอบถามระเบียบที่สำนักวรรรกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร