บทความด้านจารึกและเอกสารโบราณในนิตยสารศิลปากร

rss

องค์ความรู้เกี่ยวกับเอกสารโบราณ

กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานหลักในการจัดเก็บ ดูแลอนุรักษ์ เอกสารโบราณที่มีอายุนับ ๑๐๐ ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าของบรรพชนไทยที่ได้สร้างขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลวิทยาการสาขาต่างๆ เรื่องราวหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยทั้งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นอารยธรรม และศิลปวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการสืบทอดมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเอกสารโบราณที่มีมากที่สุดในประเทศไทย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำรวจพบคัมภีร์ใบลาน ณ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน

วัฒนา พึ่งชื่น

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทรงกราบนมัสการพระนันทบุรีศรีศากยมุนี พระพุทธรูปปางลีลา พระประธานภายในหอพระไตรปิฎกตามพระราชอัธยาศัย จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินออกมาที่ชาน ซึ่งมีหีบพระธรรมตั้งอยู่โดยรอบ ทอดพระเนตรคัมภีร์ใบลานวางอยู่ในหีบพระธรรม จึงมีพระราชดำรัสแก่อธิบดีกรมศิลปากรถึงปัญหาการชำรุดเสียหายของคัมภีร์ใบลานในหีบพระธรรมนั้น

ถามมา - ตอบไป : ผมถักเปียมัดคัมภีร์ใบลาน : ภูมิปัญญา ศรัทธา ของสตรีไทยโบราณ

จรัญ ทองวิไล

การมัดห่อคัมภีร์ใบลานโบราณถือปฏิบัติกันเป็นธรรมเนียมนิยมโดยทั่วกันคือ จะผูกเป็น 5 เปลาะ เปลาะละ 3 รอบ นักปราชญ์ทางพุทธศาสนาเชื่อมโยงไปเข้ากับหลักธรรมหรือข้อธรรมในพุทธศาสนาอย่างแยบคาย โดยเชื่อว่าที่มัดเป็น 5 นั้นหมายถึง ขันธ์ 5 บ้าง ศีล 5 บ้าง ส่วนที่มัด 3 รอบนั้นหมายถึง ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา บ้าง พระรัตนไตร คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้าง เป็นที่น่าสังเกตว่าการมัดห่อคัมภีร์นั้นนอกจากจะใช้ด้ายฟั่นเป็นเชือกมัดคัมภีร์แล้ว ยังพบว่าสตรีไทยโบราณนิยมนำเส้นผมมาถักเปียต่อเป็นเส้นยาว ใช้มัดห่อคัมภีร์หรือทำเป็นสายสนองร้อยคัมภีร์ทำเป็นเชือกด้วย หากพิจารณาทางกายภาพแล้วจะเห็นว่าเส้นผมที่จะนำมาถักเปียแทนเชือกนั้นต้องเป็นเส้นผมที่มีขนาดความยาวพอสมควร อย่างน้อยก็ประมาณ 1 ฟุตขึ้นไป ลักษณะดังกล่าวนี้ชวนให้คิดไปถึงการไว้ผมของสตรีชาวสยามสมัยโบราณซึ่งแต่ละยุคสมัยจะนิยมไว้ทรงผมแตกต่างกันไป

กรรมวิบัติวินิจฉัย : กรณีศึกษาเหตุสังฆกรรมของภิกษุบกพร่องที่บันทึกไว้ในคัมภีร์ใบลาน

วัฒนา พึ่งชื่น

คัมภีร์ใบลานเรื่องกรรมวิบัติวินิจฉัย บทนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2386 - 2392 เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันให้เห็นข้อวินิจฉัยการทำสังฆกรรมของภิกษุที่บกพร่อง องค์ประมุขสงฆ์แห่งราชอาณาจักรไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 ผู้มีความฉลาดหลักแหลม เรียบเรียงองค์ความรู้จากพระไตรปิฎกแล้วบันทึกเป็นแบบธรรมเนียมข้อปฏิบัติของหมู่สงฆ์ในสังฆมณฑลเพื่อให้ภิกษุสงฆ์ใช้เป็นแนวประพฤติปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน

ของชิ้นเอกในกรมศิลปากร : พระไตรปิฎกใบลานอักษรธรรมล้านนาในหอสมุดแห่งชาติ

วัฒนา พึ่งชื่น

คัมภีร์ใบลานล้านนาในคลังเอกสารโบราณของสำนักหอสมุดแห่งชาติ มีประมาณ 24,000 ผูก ในจำนวนนี้เป็นคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกถึง 450 ผูก ซึ่งถือว่าเป็นคลังใบลานล้านนาพระไตรปิฎกที่ใหญ่มาก ยิ่งไปกว่านั้นพระไตรปิฎกล้านนาที่พบเหล่านั้น สามารถศึกษาเปรียบเทียบกับแหล่งเอกสารโบราณอื่น ๆ ในภาคเหนือได้ครบทั้งสามปิฎก คือพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม จึงเป็นคลังสมองของล้านนาอย่างแท้จริง

การอนุรักษ์ใบลาน

ก่องแก้ว วีระประจักษ์

หนังสือใบลานเป็นเอกสารโบราณที่นิยมจดจารพระธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งบทมนต์ต่าง ๆ อันศักดิ์สิทธิ์ เรื่องอันเรื่องด้วยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพสูงสุดของพุทธศาสนิกชน และบันทึกเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นบทนิพนธ์ของอดีตชน ด้วยเหตุนี้ คนไทยโบราณจึงนิยมเรียกหนังสือใบลานเหล่านั้นว่า คัมภีร์ใบลาน

Tags

กรมเกณฑ์บุญ กรมศิลปากร ก่องแก้ว วีระประจักษ์ การพิมพ์หนังสือ การแสดงความเคารพ กำลังพล ขอมโบราณ คัมภีร์ใบลาน จดหมายเหตุ จดหมายเหตุโหร จมื่นก่งศิลป์ จังหวัดร้อยเอ็ด จันทรคติ จารึก จารึกฐานพระพุทธรูป จารึกนครชุม จารึกบ้านกู่จาน จารึกปากระฆัง จารึกแผ่นทอง จารึกพระเจ้าจิตรเสน จารึกภาษาไทย จารึกภูเขียว จารึกสุโขทัย ช้าง ตำนานกรุงเก่า ตุ๊กตาศิลาทราย ตู้พระธรรม เทศนาจุลยุทธการวงศ์ ธงพระคชาธาร ธรรมล้านนา บ้านตาดทอง บาลี ใบบอก ประชุมพงศาวดาร ประวัติศาสตร์ ปราสาทเปือยน้อย พงศาวดารเหนือ พระกัลปนาวัด พระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธรูปบุเงินจากถ้ำสาริกา พระพุทธไสยาสน์ภูเวียง พระภิกษุ พระมหากษัตริย์ พิไชยสงคราม แพทย์แผนไทยโบราณ ภาษามคธ ภาษาสันสกฤต มีดหมอ มีดอาคม ยันต์ ราชวงศ์มังราย รูปอักษรไทย ล้านช้าง วรรณกรรม วัดใต้เทิง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดภูเขาทอง วันเดือนปี เวชศาสตร์ ศักราช ศาลเจ้าพ่อหอเชือก ศิลาจารึก สงขลา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระสุริโยทัย สมุดไทย สิม หนังสือตัวพิมพ์ หนังสือสมุดไทย หมายรับสั่ง เหรียญเงินพม่าโบราณ แหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ อักษรขอม อักษรขอมโบราณ อักษรเชลียง อักษรไทยฝักขาม อักษรไทยเหนือ อักษรปัลลวะ เอกสารโบราณ